x close

แห่ขันหมาก

แต่งงาน

แต่งงาน

แห่ขันหมาก (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)

          การแห่ขันหมาก เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการแต่งงานของคนไทยในภาคกลาง โดยถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เมื่อมีการทาบทามฝ่ายหญิงเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายชายจะมีการแห่ขันหมากมาเพื่อทำพิธีหมั้นฝ่ายหญิง และนำไปสู่การรดน้ำ และส่งตัวบ่าวสาว จึงถือว่าเป็นอันเสร็จพิธีการแต่งงานของคนไทย

          ในขบวนขันหมากนำด้วย ขบวนการร่ายรำประกอบขบวนกลองยาวเถิดเถิงอย่างสนุกสนาน และตามด้วยขันต่าง ๆ 2 ขัน ดังนี้ …

1. ขันหมากหมั้น 

          ประกอบด้วย ...

          - ขันหมากเอก บรรจุหมากพลู ซึ่งถือว่าเป็นของใช้ประจำบ้านของคนไทยในอดีต

          - ขันหมากโท บรรจุวัตถุมงคล อาทิ ข้าวเปลือก ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ยอดและดอกของดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญงอกงาม ความรักและการอยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุขสมบูรณ์

2. ขันของหมั้น

          บรรจุของหมั้นต่าง ๆ เช่น เงิน ทอง แก้ว แหวน เงินสดค่าสินสอด และตามด้วยพานผ้าไหว้และของขวัญสำหรับพ่อแม่ฝ่ายหญิง

          เมื่อขบวนแห่ขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายหญิง เพื่อฝ่ายหญิงจะตั้งประตูเงิน ประตูทอง กั้นขบวนขันหมาก ถ้าฝ่ายชายจะผ่านต้องจ่ายค่าผ่านประตูเงิน ประตูทอง จึงเข้าสู่พิธีหมั้น และทำพิธีหมั้นตามประเพณี จึงถือว่าเป็นอันจบขบวนแห่ขันหมากอย่างสมบูรณ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณส้ม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แห่ขันหมาก อัปเดตล่าสุด 29 พฤษภาคม 2555 เวลา 17:42:50 1,250 อ่าน
TOP