x close

เกร็ดความรู้...ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก นิตยสาร i do

           สำหรับพิธีแต่งงานในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะมีพิธีการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก อย่างแต่งงานแบบไทยจะมีการจัดพิธีการในช่วงเช้า ผสมผสานกับรูปแบบงานเลี้ยงในแบบฉบับของชาวตะวันตกในช่วงเย็น แต่นอกจากประเพณีแต่งงานที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ยังมีประเพณีแต่งงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย หลายคนอาจจะเคยได้ยินพิธีการแต่งงานที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นมาบ้างแล้ว วันนี้กระปุกเวดดิ้งเลยมาแนะนำความรู้เกี่ยวกับ "ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า" ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

           ความเป็นมา

           เนื่องจากในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 มีการอพยพของชาวจีนมายังประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะประเทศจีนในช่วงนั้นมีความไม่สงบทางการเมือง และภาวะสงครามที่ก่อให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อพยพมานั้นจะเป็นชายหนุ่มและเด็กหนุ่มที่ยังไม่มีครอบครัว โดยบางคนก็ได้มาสร้างครอบครัวใหม่กับคนท้องถิ่น ทำให้เกิดคำว่า "บาบ๋า" คือ ลูกชาวจีน และคำว่า "เพอรานากัน" เป็นคำมาเลย์ แปลว่า "เด็กที่เกิดในท้องถิ่น" เป็นที่มาของคำว่า บาบ๋า หรือ เพอรานากัน หมายถึง ลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวจีนและคนท้องถิ่น ที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตมาเป็นเวลานาน

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

           ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า หรือ ประเพณีวิวาห์บาบ๋า ย่าย๋า เพอรานากัน เป็นการแต่งงานแบบจีนในภูเก็ต ที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี และยังเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีโบราณ รวมทั้งเป็นการให้เกียรติแก่ฝ่ายเจ้าสาวและครอบครัว ให้มีความมั่นใจในตัวเจ้าบ่าวที่จะสามารถดูแลเจ้าสาวอย่างมีความสุขด้วยการทาบทาม สู่ขอ หมั้นหมาย หรือที่เรียกว่า "ผ่างเต๋" คือ การเชิญญาติผู้ใหญ่จิบน้ำชา และ "เวียนสาดเวียนหมอน" คือ พิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าห้องนอน โดยมี "อึ่มหลาง" หรือ "แม่สื่อ" และ "แม่การ" เป็นผู้ดำเนินพิธีการต่าง ๆ ให้ เพราะในสมัยก่อนคู่สมรสมักไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน จนกว่าจะถึงวันแต่งกัน

          ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า เป็นการออกเรือนของคู่บ่าวสาวแบบโบราณ ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมที่เป็นเอกลักษณ์แบบจีนเอาไว้ได้อย่างชัดเจน โดยเกิดจากความรักของคู่วิวาห์ ซึ่งการจัดงานจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งครอบครัวและชุมชนชาวภูเก็ต เดินทางมาร่วมงาน และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กวาดบ้าน, จัดสถานที่, ทำขนม, สำรับกับข้าว, จัดชุดเจ้าสาว, ขับรถ, เตรียมโต๊ะไหว้เทวดา, ส่งตัวคู่บ่าวสาว เป็นต้น ขั้นตอนพิธีแต่งงานบาบ๋าตามประเพณีโบราณจะมีการจัด 7 คืน 7 วัน เนื่องจากในสมัยก่อนไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร หรือโรงแรมไว้จัดงาน ทำให้ต้องอาศัยแรงงานจากชาวบ้าน สำหรับมาเตรียมของในแต่ละวัน

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

           ขั้นตอนและพิธีการ

         1. บรรดาญาติพี่น้องของเจ้าบ่าวจะจุดประทัดเคลื่อนขบวนขันหมากไปบ้านเจ้าสาว เพื่อเชิญเจ้าสาวไปจัดพิธี "ผ่างเต๋" ณ สถานที่ได้ตกลงไว้ โดยมีกลุ่มดนตรีบรรเลงนำ ด้วยการตีฆ้องจีนและปีจีน หรือที่เรียกว่า ตีต่อตีเช้ง  ที่หมายถึงการแต่งงาน

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

         2. ภายในขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว จะประกอบด้วย ฮวดหนา(ตะกร้าจีนเล็ก) ใส่เงินทองของมีค่า และของหมั้น รวมทั้งเสี่ยหนา (ตะกร้าจีนขนาดใหญ่) บรรทุกรถหรือหาบภายในใส่อาหาร ขนม เครื่องดื่ม ชุดน้ำชา ธูปเทียน เครื่องหอมเซ่นไหว้ เมื่อถึงบ้านเจ้าสาว อึ่มหลาง (แม่สื่อ) จะเป็นผู้ดำเนินการมอบของเหล่าให้แก่ผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

         3. เจ้าบ่าวนั่ง หล่างเชี้ย (รถลากหรือรถเก๋ง) โดยมีพัวเกี๋ย (เพื่อนเจ้าบ่าว) คอยช่วยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าบ่าว

         4. เมื่อถึงบ้านเจ้าสาวจะมีการจุดประทัดบอกฤกษ์อีกครั้ง ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดเด็ก ๆ ไว้รอรับเจ้าบ่าวเข้าบ้านประกอบพิธี พิธีกรจะประกาศชื่อญาติพร้อมทั้งเชิญมารับน้ำชาบ่าวสาว โดยจะใช้ผ้าเช็ดหน้ากวาดที่นั่งเป็นการเชิญญาตินั่ง แล้วช่วยประคองถาดน้ำชาส่งให้ญาติ จากนั้นจิบเสร็จก็ส่งคืนพร้อมให้อั่งเปา ซึ่งญาติของฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะให้คำอวยพรในช่วงนี้ จากนั้นเป็นอันเสร็จพิธีการแต่งงานของบ่าวสาว ตามพิธีการของจีนโดยสมบูรณ์

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

          สำหรับวัฒนธรรมการแต่งกายบาบ๋า เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมานานกว่า 200 ปี โดยชุดเจ้าสาวเสื้อตัวในเป็นเสื้อลูกไม้สีขาวคอตั้งแขนจีบ นุ่งผ้าลายปาเต๊ะ สวมเสื้อครุยผ้าป่านรูเปียหรือผ้ามัสลินปักลวดลาย ซึ่งจะเลือกสีคลุมโทนเดียวกับผ้านุ่ง ติดเครื่องประดับทองชุดใหญ่ที่เรียกว่า โกสัง มีเข็มกลัดชิ้นใหญ่ และอีก 3 ชิ้นเล็ก ใส่กำไลข้อเท้า สวมรองเท้าปักดิ้นหรือลูกปัด เป็นการแสดงถึงความมั่งคั่งของบรรพบุรุษในอดีต ทรงผมมีเอกลักษณ์คือทรงผมเกล้าสูง มีชื่อเรียกว่า ทรงซักอีโบย คือรวบเกล้ามวยด้านบน สองข้างตีโป่งออก ใส่มงกุฎทองมีชื่อเรียกว่า ดอกไม้ไหว ที่ทำด้วยทองคำ ส่วนเจ้าบ่าวแต่งกายชุดนายเหมือง หรือชุดสูทสากลติดดอกไม้ที่หน้าอก

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

          อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีความพยายามฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้น ด้วยการประยุกต์พิธีการให้มากขึ้น โดยจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สมาคมเพอรานากันประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จึงพยายามรักษาขนบธรรมเนียมนี้ไว้ ด้วยการร่วมกันจัดงานวิวาห์บาบ๋าแบบโบราณขึ้น แต่เป็นการย่นย่อพิธีกรรมจาก 7 วัน ให้เหลือเพียง 1 วัน แต่พยายามแสดงให้เห็นถึงความอลังการ ความงดงาม รวมทั้งความมีส่วนร่วมของชาวภูเก็ตนั่นเอง

          ถือว่าเป็นพิธีวิวาห์แบบท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ยิ่งใหญ่ รวมทั้งเป็นความรู้ทางวัฒนธรรมของชาวโบราณของภูเก็ต ที่สามารถดึงดูนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาร่วมแสดงความยินดี ชื่นชมขบวนพิธีที่มีสีสันสวยงามตระการตา เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีนี้ตลอดไปได้อีกด้วย

ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  , thaihuamuseum.com, pkru.ac.th และ phuketbaba.com
 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เกร็ดความรู้...ประเพณีการแต่งงานบาบ๋า อัปเดตล่าสุด 4 กันยายน 2556 เวลา 11:29:56 18,950 อ่าน
TOP