6 ข้อควรเช็กเกี่ยวกับ ออร์แกไนเซอร์งานแต่งงาน สำหรับบ่าวสาวที่กำลังอยู่ในช่วงเตรียมงานแต่ง และไม่อยากให้วันสำคัญกลายเป็นฝันร้ายที่สุดในชีวิต
เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เฟื่องฟูมากในปัจจุบัน สำหรับ "ออร์แกไนเซอร์งานแต่ง" ผู้ช่วยสำคัญที่มีหน้าที่เนรมิตงานแต่งงาน ให้ออกมาสมบูรณ์แบบตามที่คู่บ่าวสาวทั้งหลายต้องการ นับตั้งแต่วางแผนงาน วางคอนเซ็ปต์งาน รวมถึงดูแลลำดับพิธีสำคัญต่าง ๆ ในวันจริงให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่ก็มีคู่บ่าวสาวจำนวนไม่น้อย ที่แจ็กพอตไปเลือกใช้บริการบริษัทที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ทำให้งานแต่งพังไม่เป็นท่า เรียกว่าเสียทั้งเงิน เสียทั้งความรู้สึกไปเลยทีเดียว
วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า การจ้างออร์แกไนเซอร์งานแต่งงาน ควรเช็กอะไรบ้าง และบ่าวสาวควรใส่ใจรายละเอียดการเตรียมงานในส่วนไหนมาฝากกันค่ะ อาจจะดูจุกจิกบ้างนิดหน่อย แต่ก็มั่นใจได้เลยว่างานแต่งของเราจะได้ดั่งใจ เห็นแล้วหายเหนื่อยแน่นอนค่ะ
1. ตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของบริษัท
ต้องดูก่อนเลยว่าทางบริษัทนั้นมีเว็บไซต์ทางการเป็นของตัวเองไหม มีช่องทางติดต่อทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram หรือ Twitter ด้วยหรือเปล่า หากมีและเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้ ก็จะมีข้อมูลเบื้องต้นให้เราอ่านเลยทันที ตั้งแต่บอกว่าเริ่มทำธุรกิจเมื่อไหร่ มีประสบการณ์การทำงานมานานกี่ปี ทีมงานที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง บางเจ้าก็จะแนบใบอนุญาตประกอบกิจการให้ดูกันโต้ง ๆ เลย เพื่อยืนยันความเป็นมืออาชีพและความจริงใจต่อลูกค้าของตน
2. ดูว่าบริษัทนั้นรับผิดชอบงานส่วนไหนบ้าง
คนส่วนใหญ่จะเหมารวมว่า "ออร์แกไนเซอร์งานแต่ง" นั้นมีหน้าที่จัดงานแต่งแบบครบวงจร ตั้งแต่คิดคอนเซ็ปต์ จัดเตรียมดอกไม้ ของตกแต่งในงาน รวมถึงถ่ายรูป ถ่ายพรีเวดดิ้งให้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เวดดิ้งออร์แกไนเซอร์นั้นเป็นเพียงผู้ดูแลงานแต่งในวันจริงเท่านั้น เช่น ดูแลลำดับพิธีในงาน ดูแลทีมงานและข้าวของในพิธี หรือเป็นผู้คิดสคริปต์พิธีกร เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นผู้ช่วยเตรียมงานแต่งที่แท้จริงจะเรียกว่า "เวดดิ้งแพลนเนอร์" ที่มีหน้าที่คิดคอนเซ็ปต์ หาอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ หรือเนรมิตงานแต่งให้ออกมาสวยงามนั่นเอง
เพราะฉะนั้นบ่าวสาวควรตรวจสอบขอบเขตงานของบริษัทนั้นให้ดี ว่ารับหน้าที่เป็นทั้งออร์แกไนเซอร์และแพลนเนอร์ด้วยหรือไม่ มีทีมงานตกแต่งสถานที่ต่างหากไหม อุปกรณ์การจัดงานพร้อมขนส่งหรือเปล่า หรือมีพาร์ตเนอร์เป็นช่างกล้องที่พร้อมให้บริการเลยไหม ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญมากนะคะ เพราะจะได้รู้ว่าทางบริษัทจะสามารถเสกงานออกมาได้ตามที่เราต้องการหรือเปล่า
3. มีผลงานน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้
เมื่อพบบริษัทที่มีบริการตามที่เราต้องการ ขั้นต่อไปให้ดูว่าผลงานล่าสุดของบริษัทเป็นยังไง เคยมีผลงานอะไรมาบ้าง เคยร่วมงานกับคนดังหรือบุคคลที่มีเครดิตน่าเชื่อถือบ้างไหม หากมีแฟนเพจทางเฟซบุ๊กก็ส่องเต็มที่เลยค่ะ ว่ารีวิวลูกค้าที่เคยใช้บริการมีคำติหรือคำชมมากน้อยแค่ไหน หากคะแนนรีวิวดีก็ถือว่าน่าไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะในส่วนของคำวิจารณ์นั้นเจ้าของแฟนเพจไม่สามารถลบทิ้งได้ (แต่ต้องมั่นใจด้วยนะคะว่าไม่ใช่หน้าม้า)
4. พร้อมพบปะพูดคุยกับลูกค้าเป็นกิจจะลักษณะ
ออร์แกไนเซอร์ที่ดีจะถามหาวันที่บ่าวสาวสะดวกนัดเจอแบบเห็นหน้าค่าตา เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของงานเป็นกิจจะลักษณะ พร้อมสอบถามถึงคอนเซ็ปต์งานคร่าว ๆ ตามความต้องการที่อยากได้ สถานที่ที่อยากจัดงาน รวมถึงงบประมาณที่ตั้งไว้ เรียกว่ามีการลำดับวางแผนงานเป็นลำดับขั้นตอนแบบมืออาชีพ ยิ่งมีคำถามจุกจิกมากเท่าไร ยิ่งแปลว่าเขาใส่ใจและอยากให้งานของลูกค้าออกมาดีที่สุดจริง ๆ ในขั้นตอนนี้ไม่ควรพูดคุยกันผ่านทางแชตหรือโทรศัพท์เด็ดขาดเลยนะคะ เพราะอาจทำให้การสื่อสารไม่ตรงกัน แล้วงานจะออกมาไม่ตรงกับที่ต้องการ
5. มีรายละเอียดงานและเงื่อนไขระบุชัดเจน
เมื่อผ่านการพูดคุยครั้งแรกไปแล้ว ออร์แกไนเซอร์ที่เป็นมือโปรจะมีแผนงานทั้งหมดมาเสนอให้เราดูเองเสร็จสรรพ ตั้งแต่อุปกรณ์การจัดแต่งงาน รายชื่อของทีมงานทั้งหมด รวมถึงรูปแบบหน้าตาของงานคร่าว ๆ ในจุดนี้บ่าวสาวควรเช็กเรื่องกำหนดการส่งงานรวมถึงค่าใช้จ่ายให้ดี ดูว่าทางบริษัทจะทำงานในแต่ละส่วนให้เสร็จภายในวันไหนและคิดค่าให้บริการอย่างไร ที่สำคัญควรมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรให้เราเก็บไว้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าทางบริษัทจะไม่เบี้ยวงาน หรือคิดค่าบริการเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้ แล้วอย่าลืมดูด้วยนะคะว่าค่ามัดจำการว่าจ้างนั้นสมเหตุสมผลด้วยหรือไม่
6. มีช่องทางให้ติดตามความคืบหน้าของงาน
หากเป็นออร์แกไนเซอร์ที่น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพพอ เขาจะให้ช่องทางการติดต่อมาเองโดยที่เราไม่ต้องร้องขอ พร้อมอัปเดตความคืบหน้าของงานให้ดูตรงตามกำหนดเสมอ หรือถ้ามีปัญหาอะไรก็จะติดต่อมาแจ้งและปรึกษาทันที จะได้หาทางแก้ไขให้ทันวันงาน ส่วนทางบ่าวสาวเองก็ควรติดตามการทำงานเป็นระยะ ๆ เช่นกัน อย่าคิดไว้ใจแล้วปล่อยให้ทางออร์แกไนซ์ลุยงานเองเงียบ ๆ เด็ดขาด ยิ่งสละเวลาไปตรวจสถานที่ หรือตรวจงานเองได้ยิ่งดี แต่หากไม่สะดวกจริง ๆ ก็ควรขอให้ทางออร์แกไนซ์ส่งรูปภาพมายืนยัน หรือวิดีโอคอลให้เห็นชัดเจนไปเลยค่ะ
ได้รู้คำแนะนำกันดี ๆ ไปแล้ว ถึงช่วงเตรียมงานแต่งจะยุ่งจนไม่มีเวลาขนาดไหน แต่ยังไงบ่าวสาวก็ต้องยอมวุ่นวายกันสักหน่อยนะคะ เพื่อให้งานแต่งของเราสมบูรณ์แบบ ไม่มีข้อผิดพลาด และกลายเป็นวันสำคัญที่น่าจดจำที่สุดในชีวิตเนอะ
วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า การจ้างออร์แกไนเซอร์งานแต่งงาน ควรเช็กอะไรบ้าง และบ่าวสาวควรใส่ใจรายละเอียดการเตรียมงานในส่วนไหนมาฝากกันค่ะ อาจจะดูจุกจิกบ้างนิดหน่อย แต่ก็มั่นใจได้เลยว่างานแต่งของเราจะได้ดั่งใจ เห็นแล้วหายเหนื่อยแน่นอนค่ะ
1. ตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของบริษัท
ต้องดูก่อนเลยว่าทางบริษัทนั้นมีเว็บไซต์ทางการเป็นของตัวเองไหม มีช่องทางติดต่อทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram หรือ Twitter ด้วยหรือเปล่า หากมีและเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้ ก็จะมีข้อมูลเบื้องต้นให้เราอ่านเลยทันที ตั้งแต่บอกว่าเริ่มทำธุรกิจเมื่อไหร่ มีประสบการณ์การทำงานมานานกี่ปี ทีมงานที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง บางเจ้าก็จะแนบใบอนุญาตประกอบกิจการให้ดูกันโต้ง ๆ เลย เพื่อยืนยันความเป็นมืออาชีพและความจริงใจต่อลูกค้าของตน
คนส่วนใหญ่จะเหมารวมว่า "ออร์แกไนเซอร์งานแต่ง" นั้นมีหน้าที่จัดงานแต่งแบบครบวงจร ตั้งแต่คิดคอนเซ็ปต์ จัดเตรียมดอกไม้ ของตกแต่งในงาน รวมถึงถ่ายรูป ถ่ายพรีเวดดิ้งให้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เวดดิ้งออร์แกไนเซอร์นั้นเป็นเพียงผู้ดูแลงานแต่งในวันจริงเท่านั้น เช่น ดูแลลำดับพิธีในงาน ดูแลทีมงานและข้าวของในพิธี หรือเป็นผู้คิดสคริปต์พิธีกร เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นผู้ช่วยเตรียมงานแต่งที่แท้จริงจะเรียกว่า "เวดดิ้งแพลนเนอร์" ที่มีหน้าที่คิดคอนเซ็ปต์ หาอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ หรือเนรมิตงานแต่งให้ออกมาสวยงามนั่นเอง
เพราะฉะนั้นบ่าวสาวควรตรวจสอบขอบเขตงานของบริษัทนั้นให้ดี ว่ารับหน้าที่เป็นทั้งออร์แกไนเซอร์และแพลนเนอร์ด้วยหรือไม่ มีทีมงานตกแต่งสถานที่ต่างหากไหม อุปกรณ์การจัดงานพร้อมขนส่งหรือเปล่า หรือมีพาร์ตเนอร์เป็นช่างกล้องที่พร้อมให้บริการเลยไหม ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญมากนะคะ เพราะจะได้รู้ว่าทางบริษัทจะสามารถเสกงานออกมาได้ตามที่เราต้องการหรือเปล่า
เมื่อพบบริษัทที่มีบริการตามที่เราต้องการ ขั้นต่อไปให้ดูว่าผลงานล่าสุดของบริษัทเป็นยังไง เคยมีผลงานอะไรมาบ้าง เคยร่วมงานกับคนดังหรือบุคคลที่มีเครดิตน่าเชื่อถือบ้างไหม หากมีแฟนเพจทางเฟซบุ๊กก็ส่องเต็มที่เลยค่ะ ว่ารีวิวลูกค้าที่เคยใช้บริการมีคำติหรือคำชมมากน้อยแค่ไหน หากคะแนนรีวิวดีก็ถือว่าน่าไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะในส่วนของคำวิจารณ์นั้นเจ้าของแฟนเพจไม่สามารถลบทิ้งได้ (แต่ต้องมั่นใจด้วยนะคะว่าไม่ใช่หน้าม้า)
ออร์แกไนเซอร์ที่ดีจะถามหาวันที่บ่าวสาวสะดวกนัดเจอแบบเห็นหน้าค่าตา เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของงานเป็นกิจจะลักษณะ พร้อมสอบถามถึงคอนเซ็ปต์งานคร่าว ๆ ตามความต้องการที่อยากได้ สถานที่ที่อยากจัดงาน รวมถึงงบประมาณที่ตั้งไว้ เรียกว่ามีการลำดับวางแผนงานเป็นลำดับขั้นตอนแบบมืออาชีพ ยิ่งมีคำถามจุกจิกมากเท่าไร ยิ่งแปลว่าเขาใส่ใจและอยากให้งานของลูกค้าออกมาดีที่สุดจริง ๆ ในขั้นตอนนี้ไม่ควรพูดคุยกันผ่านทางแชตหรือโทรศัพท์เด็ดขาดเลยนะคะ เพราะอาจทำให้การสื่อสารไม่ตรงกัน แล้วงานจะออกมาไม่ตรงกับที่ต้องการ
เมื่อผ่านการพูดคุยครั้งแรกไปแล้ว ออร์แกไนเซอร์ที่เป็นมือโปรจะมีแผนงานทั้งหมดมาเสนอให้เราดูเองเสร็จสรรพ ตั้งแต่อุปกรณ์การจัดแต่งงาน รายชื่อของทีมงานทั้งหมด รวมถึงรูปแบบหน้าตาของงานคร่าว ๆ ในจุดนี้บ่าวสาวควรเช็กเรื่องกำหนดการส่งงานรวมถึงค่าใช้จ่ายให้ดี ดูว่าทางบริษัทจะทำงานในแต่ละส่วนให้เสร็จภายในวันไหนและคิดค่าให้บริการอย่างไร ที่สำคัญควรมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรให้เราเก็บไว้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าทางบริษัทจะไม่เบี้ยวงาน หรือคิดค่าบริการเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้ แล้วอย่าลืมดูด้วยนะคะว่าค่ามัดจำการว่าจ้างนั้นสมเหตุสมผลด้วยหรือไม่
6. มีช่องทางให้ติดตามความคืบหน้าของงาน
หากเป็นออร์แกไนเซอร์ที่น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพพอ เขาจะให้ช่องทางการติดต่อมาเองโดยที่เราไม่ต้องร้องขอ พร้อมอัปเดตความคืบหน้าของงานให้ดูตรงตามกำหนดเสมอ หรือถ้ามีปัญหาอะไรก็จะติดต่อมาแจ้งและปรึกษาทันที จะได้หาทางแก้ไขให้ทันวันงาน ส่วนทางบ่าวสาวเองก็ควรติดตามการทำงานเป็นระยะ ๆ เช่นกัน อย่าคิดไว้ใจแล้วปล่อยให้ทางออร์แกไนซ์ลุยงานเองเงียบ ๆ เด็ดขาด ยิ่งสละเวลาไปตรวจสถานที่ หรือตรวจงานเองได้ยิ่งดี แต่หากไม่สะดวกจริง ๆ ก็ควรขอให้ทางออร์แกไนซ์ส่งรูปภาพมายืนยัน หรือวิดีโอคอลให้เห็นชัดเจนไปเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : theknot.com, weddingreview.net