ไม่ว่าจะแต่งงานกับคนไทยหรือต่างชาติก็เป็นเรื่องกังวลสำหรับผู้หญิง วันนี้เรามีเรื่องกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติมาแนะนำกัน
กฎหมายน่ารู้ : จดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ (Bridals Choice)
ไม่ว่าจะแต่งงานกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ ก็ดูจะเป็นกังวลสำหรับคุณผู้หญิงไปซะหมดเลยค่ะ แต่อย่ากังวลเพราะนับจากนี้ไปคุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวอีกต่อไป เพราะเรามีกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติมาฝากกัน
จดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ
คุณสมบัติ
1. ชายและหญิงมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์
2. ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3. ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
6. หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือสมรสกับคู่สมรสเดิมหรือมีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
หลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
2. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
3. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ให้จดทะเบียน
4. พยานอย่างน้อย 2 คน
จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติ ขั้นตอนดังนี้
1. ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
5. นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยนำไปใช้ยังต่างประเทศได้
หมายเหตุ
นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติกรณีไม่สามารถดำเนินการได้สามารถทำการมอบอำนาจ
ถ้ามอบอำนาจมาต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบด้วย
สตรีไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการสมรสตามกฎหมายต่างประเทศสามารถร้องขอให้สอท./สกญ.บันทึกการใช้นามสกุลสามีลงในหนังสือเดินทาง (ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้องแก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง ในโอกาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทยหากมิได้ดำเนินการแก้ไขและมาขอหนังสือเดินทาง ฉบับใหม่กระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทาง โดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข้อมูลที่ปรากฏตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น
จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ขั้นตอน ดังนี้
1. ให้คนต่างชาติไปขอใบรับรองความเป็นโสดที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ต้องติดต่อสำนักงานเขตในประเทศของตน
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรโดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
5. นำไปจดทะเบียนที่อำเภอหรือเขต
เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ
1. หนังสือเดินทางหรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของประเทศใด ประเทศหนึ่ง (Visa)
2. ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ
3. หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุล โดยระบุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ระบุอาชีพ รายได้ ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้องโดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษไทยรับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้นหรือกระทรวงการต่างประเทศไทย
การแบ่งสินสมรสกับสามีชาวต่างชาติ
แม่แฟนแต่งงานและจดเทียนสมรสกับแฟนฝรั่งมาประมาณ 2-3 ปี แม่ก็ไปอยู่กับแฟนที่อังกฤษ เห็นช่วงแรกก็ไม่มีอะไร แต่ช่วงหลังมา แฟนเค้าเกิดอาการระแวงแม่อย่างหนัก ล่าสุดแม่กลับมาช่วงก่อนปีใหม่ แฟนเค้าก็หาเรื่องแม่ว่าแม่นัดกับผู้ชายคนอื่นอยู่ที่เมืองไทยและก็ทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่ และเค้าฟ้องหย่าแม่ และจะให้แม่เอาบ้านชื่อแม่ ให้แม่เอาไปจำนองเพื่อจะเอาเงินคืนเพราะเค้าเพิ่งให้เงินแม่มา เพื่อโปะค่าบ้านหมดเลย แต่บ้านหลังนั้น เป็นชื่อแม่และแม่ซื้อมาก่อนหน้าจะแต่งงานกับฝรั่งคนนี้อีก อยากถามว่า ถ้าเกิดฝรั่งคนนี้ฟ้องแม่ และจะเอาเงินที่ให้คืน (แต่แม่จ่ายเงินค่าบ้านไปหมดแล้ว) จะทำได้ไหม และบ้านนั้นถือว่าเป็นสินสมรสร่วมกันหรือเปล่า
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
เมื่อบ้านหลังดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่แม่มีอยู่ก่อนสมรส บ้านหลังนี้จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของแม่ และมีอำนาจเป็นผู้จัดการแต่ผู้เดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1), มาตรา 1473 ส่วนจำนวนเงินที่แฟนของแม่ให้มาโปะหนี้จำนองของแม่แก่ธนาคารทั้งหมด ย่อมเป็นทรัพย์สินที่มีในระหว่างสมรส เงินจำนวนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างแม่กับแฟน และถือว่าเป็นสินสมรสที่แม่จำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว กฎหมายให้ถือเสมือนว่า เงินจำนวนนี้ ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสให้แก่แม่และแฟนได้ส่วนเท่ากันเมื่อหย่ากันนั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 1533, 1534 และถ้าแฟนแม่ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้แม่ซึ่งเป็นคู่สมรสที่ได้รับประโยชน์จากเงินโปะนั้นโดยกฎหมายถือว่าเป็นการจำหน่าย ซึ่งสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัวของแม่นั้นตัวบทกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดย
มาตรา 1473 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน
หมายเหตุ
มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ตน ฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่ายหรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Bridals Choice
กฎหมายน่ารู้ : จดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ (Bridals Choice)
ไม่ว่าจะแต่งงานกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ ก็ดูจะเป็นกังวลสำหรับคุณผู้หญิงไปซะหมดเลยค่ะ แต่อย่ากังวลเพราะนับจากนี้ไปคุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวอีกต่อไป เพราะเรามีกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติมาฝากกัน
จดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ
คุณสมบัติ
1. ชายและหญิงมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์
2. ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3. ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
6. หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือสมรสกับคู่สมรสเดิมหรือมีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
หลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
2. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
3. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ให้จดทะเบียน
4. พยานอย่างน้อย 2 คน
จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติ ขั้นตอนดังนี้
1. ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
5. นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยนำไปใช้ยังต่างประเทศได้
หมายเหตุ
นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติกรณีไม่สามารถดำเนินการได้สามารถทำการมอบอำนาจ
ถ้ามอบอำนาจมาต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบด้วย
สตรีไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการสมรสตามกฎหมายต่างประเทศสามารถร้องขอให้สอท./สกญ.บันทึกการใช้นามสกุลสามีลงในหนังสือเดินทาง (ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้องแก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง ในโอกาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทยหากมิได้ดำเนินการแก้ไขและมาขอหนังสือเดินทาง ฉบับใหม่กระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทาง โดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข้อมูลที่ปรากฏตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น
จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ขั้นตอน ดังนี้
1. ให้คนต่างชาติไปขอใบรับรองความเป็นโสดที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ต้องติดต่อสำนักงานเขตในประเทศของตน
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรโดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
5. นำไปจดทะเบียนที่อำเภอหรือเขต
เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ
1. หนังสือเดินทางหรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของประเทศใด ประเทศหนึ่ง (Visa)
2. ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ
3. หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุล โดยระบุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ระบุอาชีพ รายได้ ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้องโดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษไทยรับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้นหรือกระทรวงการต่างประเทศไทย
การแบ่งสินสมรสกับสามีชาวต่างชาติ
แม่แฟนแต่งงานและจดเทียนสมรสกับแฟนฝรั่งมาประมาณ 2-3 ปี แม่ก็ไปอยู่กับแฟนที่อังกฤษ เห็นช่วงแรกก็ไม่มีอะไร แต่ช่วงหลังมา แฟนเค้าเกิดอาการระแวงแม่อย่างหนัก ล่าสุดแม่กลับมาช่วงก่อนปีใหม่ แฟนเค้าก็หาเรื่องแม่ว่าแม่นัดกับผู้ชายคนอื่นอยู่ที่เมืองไทยและก็ทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่ และเค้าฟ้องหย่าแม่ และจะให้แม่เอาบ้านชื่อแม่ ให้แม่เอาไปจำนองเพื่อจะเอาเงินคืนเพราะเค้าเพิ่งให้เงินแม่มา เพื่อโปะค่าบ้านหมดเลย แต่บ้านหลังนั้น เป็นชื่อแม่และแม่ซื้อมาก่อนหน้าจะแต่งงานกับฝรั่งคนนี้อีก อยากถามว่า ถ้าเกิดฝรั่งคนนี้ฟ้องแม่ และจะเอาเงินที่ให้คืน (แต่แม่จ่ายเงินค่าบ้านไปหมดแล้ว) จะทำได้ไหม และบ้านนั้นถือว่าเป็นสินสมรสร่วมกันหรือเปล่า
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
เมื่อบ้านหลังดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่แม่มีอยู่ก่อนสมรส บ้านหลังนี้จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของแม่ และมีอำนาจเป็นผู้จัดการแต่ผู้เดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1), มาตรา 1473 ส่วนจำนวนเงินที่แฟนของแม่ให้มาโปะหนี้จำนองของแม่แก่ธนาคารทั้งหมด ย่อมเป็นทรัพย์สินที่มีในระหว่างสมรส เงินจำนวนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างแม่กับแฟน และถือว่าเป็นสินสมรสที่แม่จำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว กฎหมายให้ถือเสมือนว่า เงินจำนวนนี้ ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสให้แก่แม่และแฟนได้ส่วนเท่ากันเมื่อหย่ากันนั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 1533, 1534 และถ้าแฟนแม่ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้แม่ซึ่งเป็นคู่สมรสที่ได้รับประโยชน์จากเงินโปะนั้นโดยกฎหมายถือว่าเป็นการจำหน่าย ซึ่งสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัวของแม่นั้นตัวบทกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดย
มาตรา 1473 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน
หมายเหตุ
มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ตน ฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่ายหรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Bridals Choice