
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
หลังจากที่เราได้ทราบ พิธีการแต่งงานในช่วงเช้า ไปแล้ว วันนี้กระปุกเวดดิ้งนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพิธีการและลำดับขั้นตอนการแต่งงานในช่วงเย็นมาฝากกันค่ะ จะมีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมอะไรเป็นพิเศษนั้น ตามเราไปชมกันเลยจ้า
พิธีการแต่งงานในช่วงเย็น มักเป็นงานเลี้ยงขอบคุณแขกผู้ที่เดินทางมาแสดงความยินดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพิธีการจะไม่มีอะไรมาก แต่ก็ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญเพราะเป็นการประกาศการเป็นครอบครัวใหม่ เป็นช่วงเวลาของการกล่าวอวยพรที่สร้างความซาบซึ้ง ประทับใจ และสร้างความน่าจดจำให้กับคู่บ่าวสาว คุณพ่อคุณแม่ และแขกที่มาร่วมงานทุกคน แต่ก็ยังมีพิธีแต่งงานแบบไทยอยู่บ้าง เช่น พิธีปูที่นอนและส่งตัวเข้าหอ (หากฤกษ์อยู่ในช่วงค่ำ)

ลำดับขั้นตอนบนเวทีในช่วงเย็นนั้น โดยมากจะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ยกเว้นจะมีกิจกรรมอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การแสดง การแจกรางวัล การอวยพร เป็นต้น โดยในการ์ดเชิญจะระบุเวลาเริ่มงานประมาณ 18.30 น. เมื่อแขกเริ่มทยอยมาประมาณ 70% ของที่เชิญ หรือเมื่อถึงเวลาประมาณ 19.30 น. พิธีการบนเวทีก็จะเริ่มต้นขึ้น แต่หากแขกยังมากันน้อยสามารถเลื่อนเวลาออกไปได้ไม่เกิน 19.45 น. โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้








อย่างไรก็ตาม สำหรับคู่บ่าวสาวที่ยังไม่ได้ทำ "พิธีปูที่นอน" และ "พิธีส่งตัว" เพราะมีฤกษ์ทำพิธีในช่วงดึกก็อาจจะทำพิธีเลย ทั้งนี้ กว่าคู่บ่าวสาวจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์พิธีแต่งงานได้ต้องผ่านพิธีที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแต่งงาน นั่นก็คือ "พิธีปูที่นอน" และ "พิธีส่งตัว" เพราะถือเป็นการรับพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อชีวิตคู่จะได้ราบรื่นตลอดรอดฝั่งไปจนแก่เฒ่า ซึ่งผู้ใหญ่ที่จะมาทำพิธีให้จะต้องเป็นคู่ที่ใช้ชีวิตกันมายาวนาน กล่าวคือ เป็นคู่ที่มีสิริมงคลในการร่วมชีวิตคู่มาเป็นผู้ทำพิธีปูที่นอนเรียงหมอน


ผู้ที่ทำพิธีจะต้องเตรียมข้าวของสำหรับเข้าพิธี ได้แก่










จากนั้นก็จึงเริ่มปูที่นอนแล้วพรมน้ำมนต์ที่นอน พร้อมกับให้ศีลให้พรเพื่อเป็นสิริมงคล และโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงบนที่นอน ซึ่งในการทำพิธีญาติสามารถเข้าไปร่วมพิธีได้ เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมแก่การทำพิธี ผู้ที่ประกอบพิธีจะลุกขึ้นและยืนร้องถามข้อความต่าง ๆ และจะต้องมีคนคอยตอบด้วย
ผู้ทำพิธี : ถึงฤกษ์ดีแล้วหรือยัง
คนคอยตอบ : ถึงแล้วขอรับ
ผู้ทำพิธี : นายบุญมั่นมาแล้วหรือยัง
คนคอยตอบ : มาแล้วขอรับ
ผู้ทำพิธี : นายบุญคงเล่ามาแล้วหรือยัง
คนคอยตอบ : มาแล้วขอรับ
ต่อมาก็ถามถึงคนที่มีชื่อเป็นสวัสดีมงคลอย่างอื่นอีกสัก 2-3 คน และให้มีคนคอยรับทุกครั้งว่ามาแล้ว ต่อมาผู้กระทำพิธีจะไปพูดกับภรรยาของตนว่า "ถึงฤกษ์ดีแล้ว ผู้ที่จะมาอำนวยพรก็มาพร้อมกันแล้ว เรามาช่วยกันปูที่นอนให้เถิด" ว่าแล้วก็ช่วยกันปูที่นอนจนเรียบร้อย ขั้นตอนต่อมาผู้กระทำพิธีทั้งคู่ขึ้นไปนั่งเคียงกันบนที่นอน หันหน้าไปทางข้างหัวนอน ไหว้พระสวดมนต์ด้วยกันสักครู่หนึ่ง พอจบแล้วก็ลงนอนเคียงกันบนที่นอน ให้พรบ่าวสาวเป็นคำสนทนากันและกัน เช่น
ฝ่ายชาย : ที่นอนน่านอน ใครนอนเห็นจะอยู่เย็นเป็นสุขสบาย อายุยืนนะแม่หนู
ฝ่ายหญิง : สบายนักนะคะ ถ้าใครนอนที่นอนนี้คงจะเกิดทรัพย์สินมูลพูนเขา มีลูกเต้าน่ารักน่าชม
ฝ่ายชาย : แหม...ที่นอนนี้ดีจริง ใครได้นอนคงอยู่เย็นเป็นสุขสบาย
ฝ่ายหญิง : เราคงมีแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
และก็จะพูดในลักษณะนี้นี้อีกเล็กน้อย จนจบการให้พรแล้วนอนหลับตานิ่ง ๆ เหมือนกับหลับอยู่อีกสักครู่หนึ่ง แล้วจึงลุกจากเตียงเป็นอันเสร็จพิธี


นับเป็นขั้นตอนปิดท้ายงานแต่งงาน โดยหลังจากที่ทำพิธีปูที่นอนเสร็จสิ้น ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงนำเจ้าสาวเข้ามา เจ้าสาวไหว้หรือกราบเจ้าบ่าวก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะถือว่าสามีเป็นผู้ให้ความดูแลคุ้มครอง ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวกล่าวฝากฝังเจ้าสาวกับเจ้าบ่าวให้ทั้งสองรักกันมั่นคง จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวก็จัดแจงวางหมอนหนุนศีรษะ ซึ่งที่ผู้ชายต้องนอนทางขวาและผู้หญิงต้องนอนทางซ้าย เพราะถือว่าสามีเป็นผู้ให้ความดูแลคุ้มครอง โดยสาเหตุที่เจ้าบ่าวนอนด้านขวาเพราะส่วนใหญ่แล้วห้องนอนของแต่ละบ้านในสมัยก่อนประตูจะอยู่ด้านขวามือ หากมีเหตุอันตรายสามีจะสามารถคุ้มครองปกป้องภรรยาของตนได้ เพราะถือว่าผู้ชายมีความแข็งแรงกว่าหญิง ควรทำหน้าที่ดูแลปกป้อง จากนั้นเป็นอันเสร็จก็ออกจากห้อง
และนี่คือลำดับขั้นตอนพิธีการแต่งงานช่วงเย็น ซึ่งถือเป็นแนวทางของคู่บ่าวสาวในการนำเอาพิธีแต่งงานในช่วงเย็นนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานแต่งงานของตนเอง และพิธีแต่งงานที่มีหลากหลายขั้นตอนแบบนี้ก็เหมือนสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับการเริ่มต้นการใช้ชีวิตคู่อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

