เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
เพราะ "พิธีแต่งงานแบบไทย" เป็นอีกหนึ่งพิธีที่งดงามและมีขั้นตอนในพิธีการมากมาย ซึ่งคงจะมีคู่บ่าวสาวจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้ซึ้งหรือเข้าใจกับขั้นตอนหรือพิธีต่าง ๆ วันนี้เราจึงนำเอาเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในพิธีแต่งงานแบบไทยมาบอกให้ทราบกันค่ะ
การจัดขบวนขันหมาก
ในการจัดขบวนขันหมากเพื่อยกไปสู่ขอเจ้าสาวนั้น มิใช่ว่าใครใคร่จะยืนตำแหน่งใดก็ย่อมได้ แต่จะมีการจัดตำแหน่งตามลำดับ ดังนี้
1. ขบวนโห่กลองยาว และนางรำ
2. เจ้าบ่าว ถือพานดอกไม้ธูปเทียน เดินคู่มากับเฒ่าแก่-ผู้ใหญ่ตัวแทนฝ่ายเจ้าบ่าว
3. ต้นกล้วยและต้นอ้อยยืนคู่กัน
4. ขันหมากเอก ซึ่งญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ชายเป็นผู้ถือ ยืนคู่กับพานสินสอดทองหมั้น
5. พานแหวนหมั้น คู่กับพานธูปเทียนแพ
6. ขบวนขันหมากโท
คู่พานไก่นอนตอง-ไก่วางบนใบตอง
คู่พานหมูนอนตอง-หมูวางบนใบตอง
คู่พานวุ้นเส้น
คู่พานกล้วยน้ำว้า-ส้ม
คู่พานขนมมงคลต่าง ๆ ต่อกันเป็นขบวน
พิธีสงฆ์ในงานมงคลสมรส
สำหรับพิธีทางศาสนาในงานมงคลสมรส การจัดเตรียมสถานที่สำหรับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาสวดเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ให้จัดอาสนะพระไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาให้พอกับจำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์มา ซึ่งตามความนิยมจะนิมนต์พระ 9 รูป เพราะเชื่อถือเกี่ยวกับเลข 9 ว่าเป็นเลขมงคล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า แต่เพื่อให้เป็นเลขคู่พอดีสอดคล้องกับพิธีแต่งงาน จะถือว่านับรวมพระพุทธรูปที่ตั้งเป็นประธานอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาด้วยเป็น 10 องค์ ครบคู่พอดี
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร
ชุดหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ประกอบด้วยพวงมาลัยบ่าวสาว แป้งเจิม มงคลแฝด พานวางหอยสังข์ ชุดตั่งหรือถ้านั่งพื้นสามารถใช้พรมรองนั่งได้ หมอนรองมือ พานพุ่มดอกไม้สำหรับรับน้ำสังข์ ของชำร่วย และดอกไม้ประดับ 2 ข้าง เพื่อความสวยงาม ซึ่งในพิธีรดน้ำสังข์ถือเคล็ดลางกันว่า หากเสร็จสิ้นแล้วหลังจากถอดมงคลแฝดออก หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลุกขึ้นก่อนโบราณว่าผู้นั้นจะเป็นใหญ่ในครอบครัว ด้วยเหตุนี้ผู้ใหญ่มักจะบอกให้ทั้งสองฝ่าย ช่วยประคับประคองกันลุกขึ้น แทนที่จะยุให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดลุกขึ้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลบจาก