
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
สำหรับการทำพิธีในงานแต่งงานของแต่ละภาค ล้วนมีวิธีการที่ซับซ้อนแตกต่างกัน แถมคู่แต่งงานหลายคู่ก็คงยังไม่รู้และไม่เข้าใจในขั้นตอน รวมทั้งพิธีการในวันแต่งงานมากนัก ในวันนี้กระปุกเวดดิ้งเลยจะมาเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการจัด "พิธีเซ่นผี" หลังจากการทำพิธีแต่งงาน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพิธีที่สำคัญของการแต่งงานแบบภาคกลาง ส่วนพิธีการนี้จะทำขึ้นเพื่ออะไร มีสิ่งของอะไรที่ต้องเตรียมในการประกอบพิธีกรรมบ้าง ตามเราไปดูกัน
"เซ่นผีแต่งงาน" ถือเป็นพิธีกรรมของงานแต่งงานตามประเพณีดั้งเดิมในภาคกลาง จุดประสงค์ของการทำพิธีก็เพื่อบอกกล่าวเทวดา, ผีบ้าน, ผีเรือน, ผีปู่ผีย่า และผีตาผียาย เพื่อขอพรให้มีความสุข ความเป็นสิริมงคลแก่คู่สมรส รวมทั้งเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้คู่บ่าวสาวได้ตระหนักว่า วันแต่งงานถือเป็นวันดี วันแห่งความมงคล เป็นวันสำคัญที่คนทั้งสองได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน โดยมีญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน ตลอดจนเป็นการส่งสารถึงบรรพบุรุษได้รับทราบ อีกทั้งเป็นเครื่องเตือนใจให้ทั้งสองคนมีความรัก ความซื่อสัตย์ต่อกัน มีความอดทนช่วยเหลือเกื้อกูลกันไปตลอดชีวิต โดยพิธีนี้จะทำในช่วงหลังจากพิธีรดน้ำสังข์ ซึ่งบางบ้านจะมีพิธี “เซ่นผี” ต่อเลย โดยผู้ประกอบพิธีหรือเจ้าพิธีเป็นผู้ที่ชาวบ้านเชื่อถือ
สำหรับวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีกรรม ได้แก่ ขัน 1 ใบ, ผ้าขาว 1 ผืน, เทียน 1 คู่, เหล้า 1 ขวด มะพร้าว 2 ผล, กล้วย 2 หวี, ใบตอง 3 ทาง สำหรับใช้รองเครื่อง เซ่นผี เช่น ขนมเปียก, ข้าวเหนียวกวน, พิมพ์ข้าวตอก, ขนมทอด, เต้าเรี่ยว ซึ่งเป็นขนมที่ใช้ในขบวนขันหมากทุกชนิด, หมากพลู 4 คำ, น้ำชา 4 ถ้วย, ขนมจีนแกงไก่ 4 ถ้วย และเงิน 4 บาท
โดยจะนำเครื่องขันหมากเอกมาแบ่งทุกอย่างพอประมาณ นำมาวางรวมกัน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กอง ก่อนเซ่นผีต้องดำเนินขั้นตอนพิธี ดังนี้




ภายหลัง "พิธีเซ่นผี" จะเป็นการเลี้ยงอาหารแขกที่มาในงาน รวมทั้งพิธีไหว้ญาติผู้ใหญ่ ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กล่าวให้พรทั้งคู่บ่าวสาว เวลากลางวันจะมีพิธีส่งตัว มีฤกษ์ส่งตัวเข้าหอ มีฤกษ์เรียงหมอน ปูที่นอน การปูที่นอน เรียงหมอนมักจะนิยมให้คนชรา หรือคู่สมรสที่มีชีวิตสมรสยืนยาวไม่เคยทะเลาะวิวาทกันเป็นผู้ทำ โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสมรสที่ราบรื่นเหมือนคู่สมรสที่มาปูที่นอน ตอนส่งตัวญาติผู้ใหญ่จะสอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวให้ไหว้พระ และให้เจ้าสาวไหว้เจ้าบ่าว สั่งสอนไม่ให้ทะเลาะวิวาทกัน ให้เจ้าบ่าวเป็นผู้ประกอบอาชีพ และเจ้าสาวเป็นฝ่ายเก็บเงินทอง พร้อมทั้งกล่าวคำอวยพร
ซึ่งพิธีดังกล่าวถือเป็นความเชื่อที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่ล้วนทำเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตคู่ทั้งนั้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ilwc.aru.ac.th, openbase.in.th และprapayneethai.com